โรมา เปิดตัว “เอ็นซองซี่” ค่าตัว 26 ล้านยูโร

หลังจากโครงการประมงบนพื้นที่สูง มูลนิธิโครงการหลวง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ ประสบผลสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาเรนโบว์เทร้าต์ ณ ศูนย์วิจัยประมงน้ำจืดดอยอินทนนท์ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จนสามารถเพาะเลี้ยงปลาเรนโบว์เทร้าต์ป้อนตลาดได้ปีละกว่า 20 ตันแล้ว

aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3NwLzAvdWQvMTU2Lzc4MDQzNy83ODA0MzctdGh1bWJuYWlsLmpwZw (1)

 

ล่าสุดยังได้นำไข่ปลาสเตอร์เจียนจากรัสเซียมาฟักและทดลองเพาะเลี้ยง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ผลปรากฏว่าเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศบนดอยอินทนนท์ ขณะนี้สามารถให้ไข่ที่เรียกว่า “คาร์เวียร์”
ปลาสเตอร์เจียนมีอยู่ 25-27 ชนิด ใน 3 สายพันธุ์ หรือ 3 สกุล เป็นปลาขนาดใหญ่ลักษณะคล้ายปลาฉลาม เคยมีสถิติระบุว่า ปลาสเตอร์เจียนในประเทศรัสเซียมีอายุกว่า 200 ปี หนักถึง 1.5 ตัน ยาว 5 เมตร พบมากในทะเลสาบแคสเปียน ประเทศรัสเซีย แต่โดยทั่วไปจะพบขนาดมีน้ำหนักระหว่าง 75-100 กก. ปลาชนิดนี้เลี้ยงเพื่อนำผลผลิตไข่ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ไข่คาร์เวียร์ มีราคาแพงมาก ตกกิโลกรัมละกว่า 2 แสนบาท